สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สปสช. ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นการบริการด้านสุขภาพของรัฐที่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชนทุกส่วน ทุกคนในสังคมควรได้รับการประกันสุขภาพอย่างเท่าเทียมกันบนหลักการสำคัญที่ว่า บริการที่จำเป็นด้านสุขภาพเป็นของทุกคน ซึ่ง นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ คือ ผู้ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งผู้หนึ่งในการริเริ่มผลักดันเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย โดยผ่านการเรียนรู้ ทดลองปฎิบัติและต่อสู้กับอุปสรรค จนสามารถผลักดันเป็นนโยบายที่สำคัญของประเทศและใช้จริงมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อพูดถึงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เชื่อว่าส่วนใหญ่คงจะนึกถึง 3 ระบบหลัก หรือ 3 กองทุนหลัก ได้แก่
- 1.ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง)
- 2.ระบบประกันสังคม
- 3.สวัสดิการข้าราชการ
การส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่อง
การส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่อง หมายความว่า หากการรักษาพยาบาลครั้งนั้น “เกินศักยภาพของหน่วยบริการ” จะพิจารณาส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพ ที่สูงกว่าตามภาวะความจำเป็นของโรค
แนวทางการใช้สิทธิ สปสช.
1. เข้ารับบริการที่หน่วยบริกรประจำตามสิทธิ หากหน่วยบริการปฐมภูมิเกินศักยภาพ จะได้รับการส่งต่อตามขั้นตอน
2. แจ้งขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก่อนรับบริการ พร้อมแสตงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย มีเลขประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประราชนห้ใช้สูติบัตรแทน (ใบเกิด)
อ้างอิง
https://www.nhso.go.th/home