ไขมันในเลือดส่วนหนึ่งร่างกายสังเคราะห์ได้เอง และอีกส่วนหนึ่งได้รับจากอาหารต่างๆ แล้วกระจายตัวเป็นหยดน้ำมันเล็กๆ ในเลือดเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ เช่น ละลายวิตามินบางชนิด ได้แก่ วิตามินเอ, วิตามินดี , วิตามินอี และวิตามินเค ช่วยขนส่งไขมันและวิตามินที่ละลายในไขมันไปยังอวัยวะต่างๆ เป็นวัตถุดิบสำหรับสร้างสารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ฮอร์โมน น้ำดี เป็นต้น เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย
ทำให้เห็นว่าไขมันในเลือดมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้าไขมันในเลือดที่มีมากเกินกว่าปกติก็ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยทำได้ดังนี้
- ลดปริมาณอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ได้แก่ สมองสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง เครื่องในสัตว์
- ลดปริมาณอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่ ขาหมู หมูสามชั้น หนังไก่ หนังเป็ด
- ลดปริมาณอาหารจำพวกให้น้อยลง
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์มในการประกอบอาหาร
- เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เช่น ปลา ไก่
- เลือกใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกคำฝอย เป็นต้น
- ปรุงอาหารด้วยวิธี นึ่ง ต้ม ย่าง อบ แทนการทอดหรือผัดใช้น้ำมัน
- รับประทานอาหารที่มีใยอาหารมาก เช่น ข้าวซ้อมมือ ผักต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ ผลไม้ที่มีรสไม่หวานจัด
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- งดการสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย จะช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้ และยังช่วยเพิ่มระดับ เอช. ดี. แอล . โคเลสเตอรอล
- หลีกเลี่ยงภาวะเครียด
- รับประทานยาลดไขมันตามแพทย์สั่ง (ถ้าจำเป็น)