ภาพโดย Avi Chomotovski จาก Pixabay

ความหมายของสุขภาพจิต 

สุขภาพจิต คือความมั่นคงทางจิตใจ ความสามารถที่จะเผชิญกับปัญหา และสามารถตัดสินใจเลือกทางที่มีผลทำให้เกิดความพึงพอใจ ก่อให้เกิดสภาพชีวิตที่มีความสุข คนเราจะมีความสุขได้พร้อมสมบูรณ์ ก็ต้องมีความสุขทั้งกายและทางจิต ต่อร่างกายไม่ป่วย จิตใจปกติไม่ทุกข์ร้อน

สุขภาพจิต

สุขภาพจิต (mental health)ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก ได้ให้ความหมายว่า ความสมบูรณ์ทางจิตใจ ปราศจากโรคจิตหรือภาวะผิดปกติทางด้านจิตใจอื่นๆ นอกจากนี้ต้องสามารถปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ มีสัมพันธภาพกับบุคคลรอบข้าง และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข(อัมพร โอตระกุล,  2538)

เอ็กเบิร์ก(Egbert , 1980) กล่าวถึงผู้มีสุขภาพทางจิตที่ดี ได้แก่

  1. รู้จักตนเอง พัฒนาบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับความเป็นจริง
  2. ตั้งความหวังได้ตรงกับความเป็นจริง
  3. เข้าใจและมีจุดมุ่งหมายในชีวิต
  4. มีความหวังในการดำรงชีวิต และมีพลังในการดำเนินชีวิต
  5. สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้

มาสโลว์(Maslow, 1954) ได้กล่าวถึงลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดีไว้ดังนี้

  1. ต้องสามารถยอมรับตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมได้
  2. ต้องสร้างสัมพันธภาพอย่างใกล้ชิดกับผู้อื่น แสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และรักผู้อื่น
  3. รับรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็น
  4. ชื่นชมยินดีและมีความสุขกับการมีชีวิตอยู่
  5. มีอิสระในการคิดและการกระทํา
  6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการสร้างงานหรือแก้ไขปัญหา
  7. มีพฤติกรรมต่างๆ ที่คงเส้นคงวาต่อการชื่นชมและเคารพสิทธิผู้อื่น

ดังนั้นบุคคลที่มีสุขภาพดี ควรมีความพึงพอใจในตนเองและยอมรับผู้อื่น รู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยอมรับและสามารถจัดการกับเหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปดังหวังได้ ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม รู้จักหน้าที่ของตนเอง ซึ่งลักษณะของเยาวชนที่มีสุขภาพทางจิตดีนั้น Nikelly (1966) อธิบายว่าจะต้องเป็นคนยอมรับข้อด้อยของตนเอง และพยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุด โดยไม่ยอมให้ข้อบกพร่องของตนเองมาขัดขวางการพัฒนาตนเอง และมีเป้าหมายในระยะยาว เด็กที่มีสุขภาพดีต้องรักษาสมดุลระหว่างสัญชาตญาณ ความต้องการ และสติได้ดีโดยไม่มีข้อขัดแย้งเนื่องจากเด็กในวัยประถมศึกษามีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ในวัยนี้จะเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบๆตัว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก และมีความเข้าใจกับพฤติกรรมนั้น เพื่อลดความเสี่ยงที่จะพัฒนาไปเป็นโดยปัจจัยที่ผลต่อสุขภาพจิตในเด็กได้แก่ ปัจจัยด้านตัวเด็กเอง เนื่องจากปัจจุบันการเรียนมีการแข่งขันการสูงมาก ประกอบกับครอบครัวได้ตั้งความหวังไว้กับอนาคตเด็กมาก วิถีชีวิตเด็กจึงเปลี่ยนแปลงไป เด็กต้องรับภาวะด้านการเรียนมากกว่าการเล่นตามวัย ซึ่งหากบุคคลมีสุขภาพจิตที่ไม่ดีย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เด็กควรได้รับการส่งเสริมสุภาพจิตเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Shares: