แนวทางการป้องกันอาการปวดเมื่อยที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์
อาการปวดเมื่อยเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาจเกิดจากความเจ็บป่วย การเสื่อมในระบบกล้ามเนื้อ การใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานาน การเปลี่ยนอิริยาบถที่ไม่เหมาะสมหรือแม้แต่ท่านั่ง ท่ายืน ที่พบเราได้บ่อยนั้นก็คือ อาการปวดกล้ามเนื้อตามตัว ปวดมือ นิ้วล็อก ส่วนอาการปวดฝ่าเท้าก็มักเกิดจากการเดินนานๆ การสวมใส่รองเท้าส้นสูงหรือสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับเท้า ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ผู้ป่วยเบาหวานระบบประสาทรับความรู้สึกทำให้บริเวณปลายมือ เท้า รวมทั้งปัจจุบันนี้การทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ การกดโทรศัพท์มือถือบ่อยๆก็เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดเมื่อยเช่นกัน การนวดมือ ร่างกาย และเท้าอย่างสม่ำเสมอนอกจากจะช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตแล้ว ยังส่งผลให้ลดอาการมือและเท้าชา และยังช่วยให้เกิดความผ่อนคลายอีกด้วย
อาการปวดเมื่อยจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ นั้นมีหลากหลายแบบได้แก่ อาการปวดเมื่อยที่คอ บริเวณไหล่ หลังส่วนเอว ขาส่วนล่าง เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องมาจากการปฏิบัติงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ เป็นระยะเวลานานนั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ เกิดกลุ่มอาการต่อร่างกายในด้านต่างๆ รวมไป ถึงอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อ การนั่งทำงาน แบบไม่ถูกสุขลักษณะ สามารถเกิดได้ ทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นแขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่หรือแม้กระทั่งระบบ การมองเห็นและดวงตาได้ด้วยเช่นกัน
แนวทางการป้องกันอาการปวดเมื่อยที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์
1. การจัดสภาพห้องทำงานและโต๊ะทำงานให้ถูกสุขลักษณะ เก้าอี้ต้องได้สัดส่วนกับร่างกาย กรณีที่เป็น โต๊ะคอมพิวเตอร์ควรเลือกระดับพอดีกับข้อศอก เพื่อให้สามารถกดแป้นดีย์บอร์ดได้ถนัด ควรมี ที่รองรับข้อมือไม่ให้กระดกข้อมือซ้ำๆ ส่วนเก้าอี้ควรมีพนักพิงที่สามารถรองรับศีรษะได้ด้วย หน้าจอคอมพิวเตอร์ควรปรับแสงสว่างหน้าจอ คอมพิวเตอร์ให้มากประมาณแสงสว่างภายในห้อง และปรับหน้าจอให้ต่ำกว่าระดับสายตา นอกจากนี้ โต๊ะทำงานก็ควรจัดให้เป็นระเบียบ เพื่อสะดวกต่อ การเคลื่อนไหวในการหยิบสิ่งของต่างๆ
2. ปรับพฤติกรรมระหว่างทำงาน จัดอิริยาบถและสมดุลโครงสร้างให้เหมาะสม การทำงานกับคอมพิวเตอร์นานๆ ควรพักสายตา ทุกๆ 20 นาที ไม่นั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ ให้เปลี่ยนอิริยาบถลุกขึ้นเดิน ยืดเส้นยืดสาย ทุก 1/2 -1 ชั่วโมง ไม่ควรนั่งหลัง
3. ออกกำลังกายแบบง่ายๆ ในท่า ต่างๆ เช่น บริหารข้อมือด้วยท่ากำมะเหงก การ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ด้วยการบิดขี้เกียจ สำหรับผู้ที่ ไม่ได้เดินบ่อยๆ ควรฝึกท่าออกกำลังกล้ามเนื้อหลัง ให้แข็งแรง วันละ 2-3 นาที โดยให้นอนคว่ำลง กับพื้น แขนทั้งสองข้างวางข้างตัว ครั้งแรกให้ เงยหน้า คาง คอและยกอกขึ้นให้พ้นจากพื้น สัก 3-4 ครั้ง ต่อมายกขาทั้งสองข้างขึ้น โดยให้ หัวเขาเหยียดตรง ทำเช่นนี้ 3-4 ครั้งเช่นกัน เมื่อทำได้ดีแล้วให้ยกอกและยกขาขึ้นจากพื้น พร้อมๆ กัน เป็นต้น
4. ในกรณีที่อยู่กับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน นั่งทำงานหนัก ควรหาเวลา พักผ่อน และผ่อนคลายความเครียด เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬา ดูภาพยนตร์ ร้องเพลง ฟังเพลง ที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายหรือที่ตนเอง ชอบ เป็นต้น
อ้างอิง
นางสาวศิรินทร สามสี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีสะเกษวารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 กรกฎาคม – ธันวาคม 2557