ความฝัน บ่งบอกปัญหาอะไร กับสุขภาพของเรา

ความฝันกับสุขภาพ ความฝัน(dream)ในที่นี้อาจหมายถึงภาพเสียงการสัมผัสความเจ็บปวดหรือความรู้สึกอื่นๆเช่นรสกลิ่นที่เกิดขึ้นในขณะหลับ(sleeping dream) บางคนอาจถือว่าการฝันเป็นอาการหลอนอย่างหนึ่งเพราะในขณะที่เราหลับ และเกิดความฝันเราจะรู้สึกว่าสิ่งที่เราเห็นหรือสิ่งที่เรารับรู้ได้เป็นเรื่องจริงทั้งที่เกือบทั้งหมดไม่ใช่ความจริงหรือเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย มีน้อยมากที่ความฝันจะกลายเป็นความจริงเช่นฝันว่าเพื่อนหรือญาติคนหนึ่งเสียชีวิตหรือจะมาหาแล้วต่อมาปรากฏว่ามันคือความจริงซึ่งในกรณีนี้อาจถือได้ว่าความฝันนั้นเป็น”โทรจิต”(telepathy) ก็ว่าได้ การฝันในที่นี้ไม่รวมถึงฝันกลางวัน (daydreaming) หรือจินตนาการในขณะตื่นฝันเฟื่องหรือการฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์และอื่นๆที่ไม่ได้เกิดขึ้นในขณะหลับ แต่รวมถึงการฝันร้ายฝัน(nightmares)ฝันผวา(sleep terrors/ฝันเปียก(wet dreamคือการหลั่งน้ำตามในชายหรือน้ำหล่อลื่นในหญิงขณะฝันว่าร่วมเพศปัสสาวะขณะหลับ(sleep urination or bedwetting ซึ่งก็มักเกิดร่วมกับการฝันว่าปวดปัสสาวะและถ่ายปัสสาวะ)

แต่ถ้าเกิดในเด็กๆอาจจะจำความฝันไม่ได้ในผู้ใหญ่มักจะเกิดจากการมีโรคร่วมเช่นทางเดินปัสสาวะอักเสบหรือต่อมลูกหมากโตมดลูกหย่อนยานมากภาวะอัมพฤกษ์/อัมพาตเบาหวานเดินละเมอเป็นต้น ทำไมเราต้อง”หลับ”และต้องฝันเพราะเราต้องหลับเพื่อให้ร่างกายและจิตใจ(สมอง)ได้พักผ่อนจากที่ต้องทำงานมาตลอดเวลาทั้งวันหรือในช่วงหนึ่งโดยเราจะไม่รู้สึกตัว(อาจรู้สึกตัวเล็กน้อยตอนใกล้จะหลับและใกล้จะตื่นจนถึงไม่รู้สึกตัวเต็มที่ขณะปลุกไม่ตื่นหรือตื่นยากเมื่อหลับสนิทมาก)และเกือบทั้งหมดอยู่ในท่านอนมีน้อยมากที่อยู่ในท่านั่งเพราะหาที่นอนไม่ได้ในขณะที่ง่วงมากหรือมีโรคที่ทำให้นอนไม่ได้(เช่นโรคหัวใจ/ปอด เป็นมาจนต้องหายใจในท่านั่งและหลับในท่านั่งเป็นต้น)แม้ว่าช่วงเวลาที่หลับเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายและจิตใจ(สมอง)จะได้พักผ่อนแต่การพักไม่ได้หมายถึงการหยุดทำงานโดยสิ้นเชิงอวัยวะจำนวนมากยังคงทำงานเพื่อดำรงชีวิตไว้ เช่น หัวใจปอดตับไตทางเดินอาหาร แม้ว่าสมองส่วนที่ทำให้เรารู้สึกตัวจะไม่ทำงานแต่สมองส่วนอื่นๆยังทำงานอยู่ จนทำให้เกิดเป็นภาพเสียงสัมผัสความเจ็บปวดความสุข/ความสนุกสนาน/ความทุกข์/ความโศกเศร้า/ความกลัว/ความโกรธและอื่นๆ ที่อาจเป็น”ฝันร้าย””ฝันดี””ฝันน่าเบื่อ”หรือแม้แต่ฝันที่แปลกประหลาด

เมื่อไม่นานมานี้มีรายงาน 2 ชิ้นกล่าวถึงว่าทำไมเราฝันจากการวิจัยปรากฏว่าที่เราฝันก็เพราะว่าเราต้องการ

1 สร้างและส่งเสริมความจำในระหว่างหลักความจำที่ถูกเก็บไว้ในช่วงสั้นๆ ในสมองส่วนฮิปโพแคมพัส(hippocampus) ถูกย้ายไปสู่สมองส่วนอื่นที่จำได้นานกว่ารูปธรรมที่เห็นง่ายเช่นถ้าเราท่องหนังสือก่อนนอนสิ่งที่เราท่องนั้นจะจำได้นานกว่าเป็นต้น

2 ปรับเปลี่ยนอารมณ์และอุปนิสัยความฝันส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับอารมณ์โดยเฉพาะความกลัว/ความโกรธ/ความเศร้าเพราะเราจำสิ่งที่เร้าอารมณ์ได้มากกว่าสมองส่วนอะมิกดารา(amygdala)ที่ตอบสนองต่ออารมณ์ขณะที่เราตื่นยังทำงานต่อเนื่องขณะที่เราหลับโดยเฉพาะการหลับแบบตากระตุกหลอกตาเร็ว(REP sleep) ถ้าเรามีสิ่งที่ทำให้เศร้าทั้งวันโอกาสที่เราจะฝันในเรื่องเศร้าๆจะสูงมากแต่การนอนหลับจะปรับเปลี่ยนอารมณ์ของเราทำให้ความเศร้านั้นลดลง นอกจากนั้นความฝันอาจปรับเปลี่ยนอุปนิสัยของเราเช่นถ้าเราฝันเห็นว่าเราทุกข์ทรมานแสนสาหัสจากการถูกใส่ท่อช่วยหายใจเนื่องจากหายใจลำบากเพราะโรคปอดหลอดลมจากการสูบบุหรี่ เมื่อตกใจตื่นจากฝันร้าย นั้นอาจจะเลิกสูบบุหรี่ได้เป็นต้น ความฝันที่น่ากลัวเช่นเห็นลูกตกน้ำตายอาจทำให้เรารีบพาลูกไปหัดว่ายน้ำเป็นต้นดังนั้นความฝันกินเป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยปรับเปลี่ยนอารมณ์และอุปนิสัยของเราได้

3 เพิ่มความสามารถในการสร้างสรรค์และแก้ปัญหานักวิทยาศาสตร์วิจัยพบว่าการงีบหลับแบบตากระตุกกรอกตาเร็วทำให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์และความสามารถแก้ปัญหาที่คาใจอยู่ก่อนงีบหลับได้ดีขึ้น ความจำจำนวนมากและต่างๆกันอาจถูกนำมาผสมผสานกันขณะงีบหลับแบบตากระตุกส่งผลให้เมื่อตื่นขึ้นมาเราจำความฝันแปลกๆที่ทำให้เรามองปัญหาในรูปแบบอื่นและหาทางออกได้แต่อย่างไรก็ตามการหลับแบบตาไม่กระตุกไม่กรอกตาเร็วมีผลการวิจัยที่พบว่าภายในนาทีแรกของการงีบปรับหรือการเคลิ้มหลับในขณะที่ตายังไม่กระตุกระยะที่ 1 แล้วตื่นหรือถูกทำให้ตื่นปรากฏว่าสมองจะสามารถแก้ปัญหาที่ค้างคาใจอยู่ก่อนหลับได้ดีขึ้นกว่าการสูงขึ้นจากการหลับที่เข้าสู่ระยะที่ 2 และระยะอื่นๆ

4 ดูแลสมองให้เรียบร้อยขึ้นความฝันอาจจัดการข้อมูลจำนวนมากที่ถูกใส่ไว้ในสมองให้เข้าที่เข้าทางหรือโลหะทิ้งได้บ้างจากความฝันประหลาดๆเหล่านั้น

5 มองย้อนกลับทันทีโดยเฉพาะสำหรับสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นก่อนนอนเช่นการดูละครหรือภาพยนตร์ที่ตื่นเต้นน่ากลัวก่อนนอนอาจทำให้ฝันเห็นเหตุการณ์เหล่านั้นในรูปแบบที่ตื่นเต้นน่ากลัวยิ่งขึ้นเป็นต้นหรือการท่องจำหนังสือก่อนนอนอาจทำให้ฝันถึงสิ่งที่ท่องจำนั้นในรูปแบบอื่นเป็นต้น

ลักษณะของความฝันความฝันส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะของภาพซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหวมากกว่าภาพนิ่งและมักเป็นภาพขาวดำมากกว่าภาพสีรองลงไปจะอยู่ในลักษณะของเสียงความรู้สึกต่างๆเช่นความเจ็บปวดความโศกเศร้าความทุกข์ทรมานความสุขความสนุกสนานและอื่นๆในส่วนน้อยความฝันจะมาในรูปแบบของกลิ่นและรสชาติความฝันส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับตนเองที่เกิดขึ้นโดยมิได้เจตนาอาจจะไม่มีเหตุผลไม่มีสัมพันธ์กันไม่ต่อเนื่องกันอาจเกิดความประหลาดความมหัศจรรย์และมักมีสิ่งอื่นๆรวมอยู่ด้วยเช่นคนสัตว์ต้นไม้ความฝันมักทำให้เกิดอารมณ์รุนแรงอาจเกี่ยวข้องกับชีวิตครอบครัวการงานและอื่นๆได้ การแปลความฝันจากคำทำนายนั้นความฝันเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ฉงนสนเทห์มาตั้งแต่สมัยโบราณมีความพยายามที่จะแปลหรือทำนายฝันกันมาตลอดจนถึงปัจจุบันแต่ในทางด้านวิทยาศาสตร์นั้นความฝันเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติของสมองในขณะที่มนุษย์กำลังหลับสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมองแต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายถึงกลไกที่ทำให้เราต้องฝันและความฝันนั้นแปลว่าอะไรการแปลความฝันในด้านวิทยาศาสตร์ต้องทราบบุคลิกและภูมิหลังของผู้ฝันสถานภาพปัจจุบันสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์ที่ฝังใจอยู่หรือเพิ่งเกิดขึ้นนอกจากนั้นถ้าสามารถบันทึกความฝันไว้ตลอดทั้งคืนเป็นเวลาหลายคืนติดต่อกันการแปรผันอาจจะทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพกายและใจของผู้ฝันได้แต่การทำเช่นนี้ยุ่งยากมากและใช้เวลานานอีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้น้อยจึงยังไม่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ในด้านจิตวิเคราะห์นักจิตวิทยเคราะห์ชื่อก้องโลกเช่นซิกมันต์ ฟรอยด์(Sigmond freud) และ คาร์ล จูง (carl jung) ได้นำความฝันมาใช้ในการทำจิตบำบัดแก่ผู้ป่วยและถือว่าความฝันสะเทือนถึงจิตในส่วนลึกทั้งความสุขความหวังความทุกข์และความผิดหวังตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันความฝันเป็นช่องทางให้ความอัดอั้นทั้งหลายได้ระบายออกในขณะหลับซึ่งส่วนใหญ่จะให้ผลดีต่อสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะแปลความฝันได้ดีที่สุดคือตัวผู้ฝันเอง เพราะตัวผู้ฝันจะรู้ดีถึงภูมิหลังของตนเองรวมทั้งความสุข/ความทุกข์/ความรัก/ความเกลียด/ความโกรธ/ความหลงความต้องการและอื่นๆที่ตนอาจไม่กล้าเล่าให้แพทย์หรือผู้อื่นฟังได้

ในด้านการทำนายการใช้ความฝันในการทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นศาสตร์เร้นลับที่ใช้กันมานานแต่โบราณความแม่นยำของการทำนายความฝันนั้นส่วนใหญ่จะปรากฏในตำนานนิทานหรือนิยายเท่านั้นมากกว่าที่จะอยู่ในความเป็นจริงเพราะการทำนายฝันมีความคลาดเคลื่อนที่สูงมากความผิดพลาดของการทำนายความฝันมักจะเกิดขึ้นมากกว่าการดูดวงหรือลายมือเพราะดวงหรือลายมือเป็นปรากฏการณ์ที่คงที่หรือค่อนข้างคงที่การใช้สถิติของผู้ดูหรือหมอดูและตำราที่เชื่อกันมาช่วยในการทำลายจึงผิดพลาดได้น้อยกว่าแต่ในปัจจุบันมีการทำนายความฝันเป็นตัวเลขต่างๆเพื่อใช้ในการเล่นหวยทางหวยรัฐและหวยใต้ดินซึ่งเป็นการมอมเมาประชาชนให้หลงผิดมากขึ้นการเล่นหวยเป็นการพนันเป็นสิ่งเสพติดและเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งกายใจเศรษฐกิจและสังคม(แต่รัฐบาลก็ยังคงต้องการรายได้จากการออกหวยในแบบต่างๆ) ท้ายสุดแล้วความฝันก็ยังเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติของสมองในขณะที่มนุษย์กำลังหลับและเป็นประโยชน์ต่อเว้นแต่ว่าในกรณีที่ความฝันนั้นรบกวนการสุขภาพนอนหลับของตนเองและผู้อื่นหรือความฝันนั้นทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นแต่ในกรณีเช่นนั้นผู้ฟังที่รู้ตัวควรไปพบแพทย์ให้ผู้ฝันไม่รู้ตัวแต่ผู้อื่นที่ถูกรบกวนหรือเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้ที่นอนหลับอยู่(ซึ่งอาจกำลังฝันอยู่นั้น)เป็นพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ควรจะพาผู้ที่มีพฤติกรรมเช่นนั้นไปพบแพทย์เพราะสามารถรักษาให้อาการบรรเทาลงหรือหายขาดได้นั่นเอง

อ้างอิง : หนังสือนิตยสารหมอชาวบ้านฉบับที่ 512 หน้า 10 ถึง 17

Shares: