ใช้ชีวิตอย่างไรหลังยุคโควิดระบาด
ในระยะที่โควิดแพร่ระบาดในประเทศไทยครั้งที่ 5 ช่วงระลอกก่อนเทศกาลสงกรานต์ จากเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน BA.1/BA.2 โดยในขณะนั้นมีผู้ที่ติดเชื้อรายวันจำนวนมาถึงวันละเป็นหลักแสน มีทั้งผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงและผู้ป่วยที่อาการรุนแรงถึงขั้นที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวนผู้เข้ารักษาที่โรงพยาบาลถึง 2,000 คนต่อวัน ผู้เสียชีวิตอีกวันละ 100 คน
เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้น คู่กับการเปิดประเทศและต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามา โดยมีมาตรการเฝ้าระวังอย่างรัดกุม พร้อมทั้งได้ผ่อนคลายกิจกรรมต่างๆ ภายในประเทศลงจากเดิม ทั้งนี้เพื่อฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศไทย ท่ามกลางการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ ร่วมด้วย
เดิมเราคาดการณ์ว่าเมื่อล่วงเข้าสู่เดือนกรกฎาคม 2565 สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 จะดีขึ้นตามลำดับและพร้อมที่จะเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่น โดยได้มีการปรับระบบการควบคุมและการป้องกันการแพร่ระบาดในชุมชนและการดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลสำหรับผู้ที่อาการรุนแรงของโรค แต่สำหรับผูที่มีการไม่รุนแรงสามารถรับยาและกลับไปรักษาต่อที่บ้านได้ โดยจำกัดการอยู่อาศัยหรือกักบริเวณร่วมด้วย และใช้กระบวนการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ แทนการใช้พระราชกำหนดฉุกเฉินสำหรับสถานการณ์โควิด
แต่เริ่มมีสัญญาณเตือนเข้าก้าวเข้าสู่เดือนมิถุนายน 2565 จากก่ีระบาดของเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5 ทำให้เกิดการติดเชื้อรายวันมากขึ้นวันละหลายหมื่นต่อวันในช่วงเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม 2565 อีกทั้งยังมีช่วงวันหยุดยาวถึง 2ครั้งในเดือนนั้น จึงทำให้ยอดผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลผู้อาการรุนและเสียชีวิต ที่เคยลดลงไปแล้วกลับเพิ่มขึ้นมาใหม่ช้าๆ ตลอดทั้งเดือน และต่อเนื่องมาจนสู่สัปดาห์ที่2 ของเดือนสิงหาคม จึงเริ่มมีสัญที่ดีขึ้น เพียงพอสำหรับที่คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติ ออกมาประกาศเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 เพื่อเตรียมการให้โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง แทนที่คำเดิมที่ใช้ติดปากกันมาว่า โรคประจำถิ่น นับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
เมื่อเราได้ผ่านช่วงเวลาที่เราต้องอยู่กับโรคระบาดอย่างโควิด 19 มานาน และเราก็สามารถอยู่และใช้ชีวิตแบบใหม่ปกติมาโดยตลอด ต่อจากนี้สิ่งที่เราต้องเตรียมตัวในช่วงของการเปลี่ยนแปลงนี้ 4 ประการด้วยกันคือ
- ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิดในวงกว้าง ด้วยการเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มพื้นฐานและเข็มกระตุ้นตามกำหนด ใส่หน้ากากสม่ำเสมอเมื่ออยู่ในพื้นที่สาธารณะ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก
- ต้องรู้จักการดูแลตนเองเมื่อเป็นบุคคลสัมผัสเสี่ยงสูง โดยการแยกตัวออกจากผู้อื่นเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน (เพิ่มเป็น30วัน ถ้าอยู่หรือทำงานกับกลุ่มคนเปาะบาง) และถ้าเป็นไปได้ให้ตรวจเอทีเค ด้วยตนเองทุกวัน ถ้าครบกำหนดแล้วยังไม่มีอาการ และผลตรวจเอทีเคยังเป็นลบ จึงกลับไปใช้ชีวิตได้แบบระมัดระวัง เช่นดังข้อ 1 ในระหว่างแยกตัวสังเกตอาการ ต้องทำความสะอาดและฆ่า เชื้อของใช้ส่วนตัวและห้องพักให้ถูกสุขลักษณะตามคำแนะนำ
- ต้องรู้จักดูแลตนเองเมื่อพบว่ามีการติดเชื้อ ถ้าเคยได้รับวัคซีนพื้นฐานครบแล้วเป็นอย่างน้อย ถ้าไม่มีโรคเรื้อรังที่รุนแรงหรือมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่องมาก และถ้าไม่มีอาการของโรคโควิดที่รุนแรง คือ มีไข้สูง (วัดได้เกิน 38 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเกิน 6 ชั่วโมง) หรือมีอาการหอบเหนื่อย (ขณะพักหายใจเร็วตั้งแต่ 22 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป หรือ วัดความอิ่มตัวออกซิเจนปลายนิ้วได้ตั้งแต่ 94% ลงไป หรือมีชีพจรเต้นเร็วเกิน 100 ครั้งต่อนาที) สามารถรักษาตัวตามอาการอยู่ที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส ซึ่งจะช่วยลดภาระของโรงพยาบาลที่กำลังกลับไปให้การรักษาผู้ป่วยอื่นตามเดิมและรักษาผู้ป่วยโควิด เฉพาะที่อาการรุนแรงระหว่างรักษาตัวแยกกักตัวจากผู้อื่นอย่างน้อย 10 วัน หากมีความจำเป็น ในกรณีที่ไอ จาม ไม่มีไข้ แล้วอย่างน้อย 5วัน และมีผลตรวจเอทีเค เป็นลบ สามารถมีกิจกรรมนอกบ้านได้อย่างระมัดระวังตัว ไปอีก 5 วัน และใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้อื่น โดยเฉพาะการรับประทานอาหาร ควรแยกกันรับประทาน เมื่อมีการกักตัวต้องรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่
- เมื่อหายจากโควิดแล้ว ปัจจุบันมีโอกาสการเกิดภาวะลองโควิดลดลงกว่าเดิมมาก เป็นผลจากวัคซีนที่ช่วยภูมิต้านทานของร่างกายพยายามกำจัดเชื้อโดยไม่ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง ดังนั้นเมื่อหายจากการติดเชื้อโควิด 19 แล้วเป็นเวลา อย่างน้อย 4 สัปดาห์ แล้วมีอาการที่หลงเหลือมาจากช่วงโควิด หรือมีอาการที่เกิดขึ้นใหม่โดยอาการนั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำได้อย่างชัดเจน เช่น ไอ หอบเหนื่อยเวลาออกแรง เจ็บหน้าอก อ่อนเพลียอ่อนล้า ปวดเมื่อยเนื้อตัว สมองตื้อ นอนไม่หลับ อืดแน่นท้อง ท้องผูกหรือท้องเสีย ฯลฯ ควรต่อต่อขอคำปรึกษาจากแพทย์
ทุกคน และทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันเป็นอย่างดี เพราะอีกไม่นานเราจะเข้าสู่โหมดยุคหลังโควิด ที่โรคโควิด19 จะเปลี่ยนเป็นหนึ่งในโรคไข้หวัดตามฤดูกาล และทุกคนต้องได้รับการฉัดวัคซีนป้องกันประจำทุกปี
อ้างอิง หนังสือหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 521 ประจำเดือนกันยายน 2565 หน้า 14-16