บุคคลที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
คนไทยทุกคนมีสิทธิประกันสุขภาพภาครัฐตามกฎหมาย เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้อย่างถูกต้อง จึงควรตรวจสอบสิทธิของตนเองและบุคคลในครอบครัว ซึ่ง สปสช. ได้พัฒนาระบบทะเบียนสามารถตรวจสอบ
สิทธิได้ 3 วิธี ดังนี้
- ติดต่อด้วยตนเอง ในวันเวลาราชการ
ต่างจังหวัด
– หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต. หรือที่คุ้นเคยในชื่อสถานีอนามัยศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลของรัฐ
– สำนักงานสาธารณสุขจังหวัต
– สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 – 12
กรุงเทพมหานคร
– สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กทม.
– จุดรับลงทะเบียนสิทธิหลั่กประกันสุขภาพแห่งชาติในพื้นที่ กทม. ได้แก่
สำนักงานเขต 19 เขตของกรุงเทพมหานคร (ข้อมูลเพิ่มเติม หน้า 19)
สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
ตัวอย่างบุคคลที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น
- เด็กแรกเกิด ที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการจากบิดา มารดา
- บุตรข้าราชการที่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไป หรือ สมรส) และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ
- บุตรข้าราชการคนที่ 4 ขึ้นไป และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ เช่น สิทธิข้าราชการคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน
- ผู้ประกันตนที่ขาดการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (หมดสิทธิประกันสังคม)
- ข้าราชการที่เกษียณอายุหรือออกจากราชการโดยมิได้รับบำนาญ
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และไม่ใด้เป็นผู้ประกันตน กลุ่มคนเหล่านี้มีสิทธิ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามกฎหมาย และสามารถลงทะเบียน เพื่อเลือกหน่วยบริการประจำ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
คนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศติดต่อกันมากกว่า 2 ปีขึ้นไป (ข้อมูล จากสำนักงานตรวจคนข้าเมือง) หรือผู้ที่ลงทะเบียนเลือกตั้งในต่างประเทศ (ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง) จะสามารถใช้ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต่อเมื่อเดินทางกลับมาอาศัยอยู่ ในประเทศไทยแล้ว โดยประชาชนติดต่อแก้ไขสถานะบุคคล ณ หน่วยบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งขาติที่อยู่ใกล้บ้าน
อ้างอิง www.nhso.go.th