ตัวอย่าง โครงการสุขภาพในชุมชน ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิต ก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม (3 ต้อง 6 ไม่ 3 ต้องคือ ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ ต้องกินอาหารสะอาดปลอดภัย ต้องอารมณ์ดี 6 ไม่ คือ ไม่อ้วน ไม่เค็ม ไม่หวาน ไม่มัน ไม่ดื่ม และ ไม่สูบ)

จากการศึกษาข้อมูลภาวะสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผลการสำรวจประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จากผลสรุปผลการคัดกรองพบว่าพบจำนวนประชากรที่มีภาวะความดันโลหิตจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มแฝง/เสี่ยงผู้คัดกรอง จำนวนประชากรที่มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มแฝง/เสียง

ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เห็นควรมีกิจกรรมในโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง  ลดโรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรังได้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง

2. เพื่อให้ประชาชน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

3. เพื่อให้ประชาชน สามารถลดระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

ขั้นดำเนินโครงการ

1. จัดทำทะเบียนประชากรกลุ่มเป้าหมาย

2. จัดทำแผนการตรวจคัดกรอง  พร้อมแจ้งแผนการดำเนินงานให้อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้นำท้องถิ่นพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ให้สามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่างๆ โดยวัดความดันโลหิต และตรวจคัดกรองเบาหวานได้  โดยดำเนินการให้ความรู้เรื่องแนวทางการคัดกรองภาวะสุขภาพของประชาชน และการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

3.  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านใช้เครื่องมือคัดกรองภาวะสุขภาพของประชาชน คัดกรองผู้มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานเบื้องต้นด้วยวาจา ( Verbal screening ) เมื่อพบข้อบ่งชี้อีก 1 ข้อ ถือเป็น กลุ่มเสี่ยงสูงปานกลาง จัดเข้าโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง  ลดโรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง  

4. จัดให้ความรู้ในเรื่องการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน สำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย   เพื่อการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

5.  จัดให้ความรู้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน จำนวน 1 ครั้ง เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ถูกต้องและต่อเนื่อง

Shares: