ชนิดของการออกกำลังกายที่แบ่งตามวิธีการเล่น ได้แก่

  1. กายบริหารทั่วไป
    ให้ผลดีกับความแคล่วคล่องของระบบการเคลื่อนไหว ได้แก่ กล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูก เป็นต้น เหมาะสมกับเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ฟื้นฟูร่างกายหลัง เจ็บป่วย และผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลของแพทย์ และยังใช้เป็นการอบอุ่นร่างกายก่อน หรือผู้ผ่อนคลายร่างกายหลังออกกำลังกายหนักได้อีกด้วย การปฏิบัติควรใช้เวลา 10 – 15 นาทีต่อวัน
  2. กายบริหารพิเศษ
    ให้ผลดีต่างกันไปตามกิจกรรมที่ใช้ เช่น ทำให้กล้ามเนื้อ แข็งแรงระบบหายใจและไหลเวียนเลือด และความอ่อนตัวดีขึ้น เป็นต้น วัตถุประสงค์เพื่อเน้น ด้านจังหวะการหายใจ ความหนักในการออกกำลังกายและทางจิตใจ โดยเฉพาะเหมาะสมกับ ทุกเพศและทุกวัน ได้แก่ โยคะ รำมวยจีน หรือแกว่งแขน เป็นต้น การปฏิบัติควรใช้เวลา 20-30 นาทีต่อวัน
  3. เดินเพื่อสุขภาพ
    ให้ผลดีกับการฝึกความอดทนของระบบหายใจและไหลเวียนเลือดความแข็งแรง และความอดทนของกล้ามเนื้อ เป็นต้น เหมาะสมกับทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ฟื้นฟูร่างกายหลังเจ็บป่วย และผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลของแพทย์
  4. วิ่งเพื่อสุขภาพหรือวิ่งเหยาะ ๆ
    ให้ผลดีเช่นเดี่ยวกับการเดินเพื่อสุขภาพ แต่ควรจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายพร้อมมากกว่า เหมาะสมกับทุกเพศและวัย โดยเฉพาะในวัย เด็ก วัยหนุ่มสาม และวัยผู้ใหญ่
  5. ถีบจักรยานเพื่อสุขภาพ
    เหมาะสมกับทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มี น้ำหนักตัวเกินปกติ และมีปัญหาข้อเข่าหรือข้อเท้าอีกด้วย การปฏิบัติให้ได้ระยะทาง 1 กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ 3 นาที(อัตราความเร็ว 20 กม./ชม.) 6. ว่ายน้ำเพื่อสุขภาพ เหมาะสมกับทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่น้ำหนัก ตัวเกินปกติ และมีปัญหาข้อเข่าหรือข้อเท้าอีกด้วย ควรว่ายอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เวลา 20-30 นาทีต่อวัน
  6. เต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ
    เป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมมากอย่างหนึ่ง เหมาะสมกับทุกเพศและทุกวัย ให้ความสนุกสนานเพลินเพลิน เกิดผลดีกับระบบหายใจและไหลเวียนเลือด ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ความคล่องตัว และความอ่อนตัวอีกด้วย การปฏิบัติควรเต้นอย่างต่อเนื่องให้ได้อย่างน้อยวันละ 20-30 นาทีอย่างสม่ำเสมอ
  7. การเต้นเหยาะ ๆ
    หรือการกระโดดเชือก (ลงเท้าคู่) อย่างต่อเนื่องให้ได้อย่างน้อยวันละ 10 – 15 นาที
  8. โยคะ
    ก็คือการบริหารร่างกายในท่าตาง ๆ ร่วมกับการหายใจเข้า-ออก จน จิตกับร่างกายรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การฝึกโยคะจะเป็นการช่วยบริหารกล้ามเนื้อ ตับ ไต เส้นเลือด หัวใจ ปอด ม้าม และข้อต่อกระดูกสันหลังช่วยบริหารให้ร่างกายให้แข็งแรง ทรวดทรงดี สุขภาพจิตดี ร่าเริง แจ่มใส และยังช่วยบำบัดอาการเจ็บป่วยบางอย่างได้
  9. เล่นกีฬาที่ชอบหรือถนัด
    และเกมต่าง ๆ ได้แก่ ฟุตบอล บาสเกตบอล เทนนิส แบดมินตัน วิ่งเปี่ยว ชักเย่อกระโดดเชือก และยกน้ำหนัก เป็นต้น แต่ควรจะมีการดัดแปลงเทคนิคต่าง ๆ ให้สะดวกง่าย และปลอดภัยต่อการเล่นมากที่สุด เหมาะสมกับเพศ วัย และสภาพร่างกาย การปฏิบัติควรเล่นให้ได้อย่างน้อยวันละ 60-90 นาที
  10. งานอาชีพงานอดิเรกและงานบ้านที่ใช้แรงงานเป็นการออกกำลังกายที่สามารถดัดแปลงให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพได้ แต่ต้องทำด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน การปฏิบัติควรให้ทำงานนั้น ๆ ต่อเนื่องในอัตราที่หนักพอคือให้รู้สึกว่าหัวใจเต้นแรงขึ้น และหายใจ แรงขึ้นเป็นเวลานาน 10 นาทีขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 30 นาทีต่อวัน ควรเป็นช่วงเวลาเดี่ยวกันทุกวัน
Shares: