โรคปอดบวม

  • สาเหตุ  และอาการ

                        โรคปอดบวมอาจเป็นโรคแทรกซ้อนของไข้หวัด  ไข้หวัดใหญ่หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อปอดบวมโดยตรง  ติดต่อเข้าสู่ร่างกายทางจมูก  ปาก  และตา  โดยเชื้อจะปนอยู่ในละออง  เสมหะ  น้ำมูก  น้ำลายของผู้ป่วยที่ไอจามออกมา  หรือติดต่อโดยการใช้ภาชนะ  และสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย  มีระยะฟักตัวของโรค  ๑-๓  วัน  โรคนี้เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจที่มีความรุนแรง  และเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า  ๕  ปี  โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด  น้ำหนักตัวน้อย  เด็กในวัยขวบแรก  เด็กขาดสารอาหารและเด็กที่มีความพิการมาแต่กำเนิด  เช่น  โรคหัวใจ  เอเป็นปอดบวมมักจะเป็นรุนแรง  ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการรักษาทันท่วงที

                        โรคปอดบวมมักจะเกิดตามหลังโรคหวัด ๒-๓ วัน  โดยจะมีไข้สูง  ไอมาก  หายใจหอบและเร็ว  ถ้าเป็นมากจะหายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม  สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า  ๒  เดือน  ป่วยหนักมันจะซึม  ไม่ดื่มนม  ไม่ดื่มน้ำ  ถ้าไข้สูงอาจชัก  บางรายมีหายใจเสียงดัง  ปาก  เล็บมือ  เท้าเขียว  และกระสับกระส่าย  บางรายอาการอาจไม่ชัดเจน  ไม่ไอ  แต่มีอาการซึม  ดื่มนมหรือน้ำน้อยลงมาก  ถ้ามีอาการเหล่านี้ต้องพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล  หากรักษาช้าหรือได้รับยาไม่ถูกต้อง  อาจมีโรคแทรกซ้อน  เช่น  หนองในช่องเยื้อหุ้มปอด  ปอดแฟบ  ฝีในปอด  เป็นต้น

  •  การป้องกัน  และรักษา

                        การป้องกันเหมือนกับการป้องกันโรคไข้หวัด  และโรคไข้หวัดใหญ่

อ้างอิง ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง  การป้องกันโรคที่เกิดในฤดูหนาว

Shares: