โรคหัดเยอรมัน (จากเชื้อไวรัส ทำให้เกิดอาการไข้ และออกผื่นหัด)
สาเหตุ และอาการ
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้เกิดอาการไข้ และออกผื่นหัด แต่ผู้ป่วยบางคนอาจไม่มีผื่น ในเด็กเล็กมักปรากฏอาการเล็กน้อย แต่ในผู้ใหญ่จะมีอาการประมาณ 1-5 วัน ติดต่อได้จากการสัมผัส การหายใจ จากละอองเสมหะของผู้ป่วย จากการไอ จาม โรคหัดเยอรมัน มีระยะฟักตัวประมาณ 14-21 วัน
โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้แต่ไม่บ่อย ได้แก่ อาการปวดข้อ ข้ออักเสบ สมองอักเสบ หัดเยอรมัน อาจทำให้ทารกในครรภ์ที่มีความพิการได้ ถ้าแม่ติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่าง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ผู้ที่ตั้งครรภ์และสงสัยว่าเป็นหัดเยอรมัน ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด
การป้องกัน และรักษา
1.เมื่อสงสัยว่าเป็นหัด ควรให้แพทย์ตรวจเพื่อการวินิจฉัย และรักษาที่ถูกต้อง การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ และให้ยาที่เหมาะสมถ้ามีโรคแทรกซ้อน
2.ให้ผู้ป่วยนอนพัก เช็ดตัวในช่วงที่มีไข้สูง และมีอาหารอ่อนที่มีคุณค่า
3.แยกผู้ป่วยออกจากเด็กอื่นๆจนถึงระยะ 4-5 วัน หลังผื่นขึ้น โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์จนถึงระยะ 7 วัน หลังผื่นขึ้น
4.ระวังโรคแทรกซ้อนต่างๆเพราะระยะที่เป็นหัด เด็กจะมีความต้านทานโรคบางอย่างลดลงโดยเฉพาะวัณโรค ดังนั้นจึงต้องระวังการติดเชื้อจากผู้ใหญ่
5.โรคหัดเยอรมันเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ในขณะนี้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐให้วัคซีนรวมป้องกันโรค หัด คางทูม หัดเยอรมัน แก่เด็กอายุ 6-7 ปี หลังได้รับวัคซีนจะมีภูมิคุ้มกันได้ตลอดชีวิต
6.ผู้ป่วยควรพักผ่อน และร่างกายได้รับความอบอุ่น ได้รับอาหารและน้ำดื่มอย่างเพียงพอ
7.ควรให้ผู้ป่วยหยุดงาน หรือหยุดเรียน ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น
โรคหัดเยอรมัน (ติดต่อกันโดยการหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก และน้ำลายของผู้ป่วย)
สาเหตุ และอาการ
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อกันโดยการหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก และน้ำลายของผู้ป่วยเข้าไปเช่นเดียวกับไข้หวัด หรือโดยการใช้ภาชนะ และของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย หรือโดยการสัมผัสน้ำเหลืองจากตุ่มพองใสที่ผิวหนังของผู้ป่วย โรคสุกใสมีระยะฟักตัว 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยแพร่เชื้อได้ในระยะ 1 วันก่อนผื่นขึ้น ถึง 5 วันหลังผื่นขึ้น มักเกิดในเด็ก ผู้ที่เป็นโรคนี้แล้ว จะมีภูมิต้านทานไปตลอดชีวิต
อาการเริ่มด้วยไข้ต่ำๆ ต่อมามีผื่นขึ้นที่หนังศีรษะ หน้า ตามตัว โดยเริ่มเป็น ผื่นแดง ตุ่มนูน แล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มพองใสในวันที่ 2-3 นับตั้งแต่เริ่มมีไข้ หลังจากนั้นตุ่มจะเป็นหนอง แล้วเริ่มแห้งตกสะเก็ด และร่วงในเวลา 5-20 วัน ผื่นอาจจะขึ้นในคอ ตา และในปากด้วย โดยทั่วไปโรคนี้มักไม่มีโรคแทรกซ้อน แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการทางสมอง และปอดบวมได้
การป้องกัน และรักษา
1.การป้องกันโดยทั่วไปเหมือนโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคหัด
2.ผู้ป่วยควรพักผ่อนและให้ร่างกายได้รับความอบอุ่นเพียงพอ หากมีไข้ควรกินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล หากมีอาการเจ็บคอ หรือไอ ควรปรึกษาแพทย์
3.เด็กนักเรียนที่ป่วย ควรให้หยุดเรียนประมาณ 1 สัปดาห์
4.ผู้ป่วยที่มีอาการคันมากอาจใช้ยาทา (โดยปรึกษาแพทย์ก่อน) และให้เด็กควรตัดเล็บให้สั้น