โรคมะเร็งเต้านม Breast cancer
ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40-50 ปีขึ้นไป และมีรูปร่างอ้วนจะมีความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม เพราะผู้หญิงอ้วนมีเต้านมที่เต่งตึง เนื่องจากมีไขมันที่มาก จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมสูง ผู้หญิงอ้วนหรือผู้หญิงไม่อ้วนที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม จะมีอาการไม่ต่างกัน นั่นคือ มีก้อนที่เต้านม ซึ่งร้อยละ 15-20 ของก้อนที่คลำได้บริเวณเต้านม จะเป็นมะเร็งเต้านม ก้อนที่คลำได้มีการเปลี่ยนแปลงขนาด อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเต้านม เช่น มีรอยบุ๋ม มีรอยย่น มีการหดตัว หรือผิวหนังหนาผิดปกติ บางส่วนมีสะเก็ด หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม เจ็บเต้านม เกิดการบวมของรักแร้เพราะต่อมน้ำเหลืองโต
ผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วนควรมีการตรวจเต้านมตนเองเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งควรทำทุกเดือน และหาเวลาที่ดีที่สุดที่จะทำการตรวจ นั่นคือ หลังหมดระดูแล้ว 3-10 วัน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึงทำให้ตรวจได้ง่าย
การป้องกันและดูแลรักษา
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ด้วยวิธีการตรวจ 5 วิธีดัง นี้
- ยืนหน้าหน้ากระจก ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย ยกแขนทั้งสองข้างเหนือศรีษะ เท้าเอว เกร็งอก เพื่อให้ผนังทรวงอกกระชับขึ้น โค้งตัวมาข้างหน้าใช้มือทั้งสองข้างเท้าเอว
- นอนราบ นอนให้สบาย ตรวจเต้านมขวาให้สอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ ไหล่ขวา ยกแขนขวาเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมนั้นแผ่ราบ ซึ่งจะทำให้คลำง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบนด้านนอกมีเนื้อหนามากที่สุด และมีการเกิดมะเร็ง บ่อยที่สุด ใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วมือซ้าย(นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง) คลำทั่วเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือน เจอก้อนเนื้อซึ่งความจริงไม่ใช่ และทำวีธีเดียวกันนี้กับเต้านมด้านซ้าย
- ขณะอาบน้ำ สำหรับผู้หญิงที่มีต้นนมขนาดเล็กให้วางมือข้างเดียว กับเต้านมที่ต้องการตรวจบนศีรษะ แล้วใช้นิ้วมืออีกข้างคลำไปทิศทางเดียว กับที่ใช้ในท่านอน สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้นิ้วมือข้างนั้นประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำเต้านมด้านบน
- หากพบสิ่งผิดปกติบริเวณเต้านม หรือรักแร้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ทันทีที่พบ
- สำหรับคุณผู้หญิงที่อ้วน ควรลดน้ำหนักโดยด่วน