โรคกล้ามเนื้ออักเสบ Myositis
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง คือ
- การที่เรานั่งในท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม หลังงอ ก้มนานๆ
- การทำงานในลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องนานๆ เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ การก้มดูหน้าจอโทรศัพท์มือถือนานๆ
- การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่เดิมซ้ำๆ การแบกหาม การยกของหนัก
- การทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อท่าเดียวกันซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง
- การทำงานของกล้ามเนื้อมากเกินไป ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ
- การขาดดูแลและการบริหารกล้ามเนื้อ
อาการปวดกล้ามเนื้อที่แสดงออกของโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง คือ
- มีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยมีอาการปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลาขยับตัวหรือตอนทำงาน
- มีอาการปวดเมื่อยล้า จนไปถึงปวดจนทรมานจนไม่สามารถขยับเขยื้อนกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้
- มีอาการชา ของกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวด
- มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ทำให้นอนไม่หลับ
- มีอาการผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย เช่นไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ คอตก ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน เดินกระเพก
การรักษาด้วย การทานยา ทายา การนวด หรือการใช้ความร้อน ความเย็น และพบแพทย์เพื่อที่จะรักษาต่อไป
ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออักเสบต้องดูแลและบริหารกล้ามเนื้อของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ที่จะทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ การพบแพทย์เพื่อตรวจสภาพกล้ามเนื้อ ปีละครั้ง ก็จะทำให้ห่างไกลจากโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
อ้างอิง : คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ DOCTOR CARE