ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน มีดังต่อไปนี้

ปัจจัยด้านอายุ

  • อายุ 22 – 25 ปี มวลกระดูกจะสูงสุด (Peak Bone Mass)
  • อายุ 25 –30 ปี มวลกระดูกคงที่  
  • อายุมากกว่า 30 ปี มวลกระดูกเริ่มลดลงเฉลี่ยร้อยละ 6 – 8 ทุก 10 ปี
  • หญิงวัยหมดประจำเดือน อาจลดลงถึงร้อยละ 5 – 10 ต่อปี

ปัจจัยด้านเพศ

  • เพศหญิงเริ่มมีการสูญเสียกระดูกเมื่ออายุ 30 ปี และจะสูญเสียมากขึ้นเมื่อหมดประจำเดือนหรือถูกตัดรังไข่
  • ส่วนเพศชายจะเริ่มมีการสูญเสียเนื้อกระดูกเมื่ออายุ 45- 50 ปี

 ปัจจัยด้านชนชาติ

  • ผู้หญิงผิวขาวเกิดภาวะกระดูกพรุนมากที่สุด รองลงมาเป็นสตรีแถบภาคตะวันออก และคนผิวดำ

ปัจจัยด้านรูปร่าง

  • ผู้หญิงที่มีโครงกระดูกเล็ก และตัวเตี้ย มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ที่มีโครงกระดูกใหญ่

ปัจจัยด้านพันธุกรรม

  • ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัว ป่วยด้วยโรคกระดูกพรุน จะมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนและภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าคนอื่น

อ้างอิง http://mis.nkp-hospital.go.th/

Shares: