1. ญาติสายตรง เช่น บิดา มารดา  พี่น้อง  คนใดคนหนึ่งเป็นเบาหวาน  ผู้ที่เป็นเบาหวานจะได้รับยีนส์ผิดปกติจากพ่อแม่  ตั้งแต่เชื้ออสุจิของพ่อและไข่ของแม่ผสมกัน เมื่อคลอดลูกออกมาผู้นั้นก็มียีนส์ผิดปกติพร้อมที่จะเป็นเบาหวานอยู่แล้ว  แต่การที่จะเป็นช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับภาวะแวดล้อมต่างๆ ของผู้นั้น คือ กรรมพันธุ์และการรับประทานอาหารปัจจัยแวดล้อมจะช่วยให้เกิดเบาหวานได้เท่า ๆ กัน  และแม้จะยังไม่เป็นเบาหวานในระยะแรกของชีวิต  เมื่อมีลูกย่อมถ่ายทอดความผิดปกติอันนั้นไปให้ลูกได้เสมอ  ลูกของคนที่เป็นเบาหวานจึงได้รับพันธุกรรมของโรคเบาหวานไปทุกคนไม่ว่าลูกคนนั้นจะเกิดก่อนหรือหลังที่ผู้นั้นมีอาการของโรคเบาหวานและบุตรที่เกิดขึ้นในขั้นหลัง ๆ ของกรรมพันธุ์มักจะเป็นโรคเบาหวานเร็วขึ้นเรื่อย ๆ บางรายพบว่าบุตรเป็นโรคเบาหวานก่อนพ่อแม่ (วิทยา  ศรีดามา, 2545)

2. คนที่มีอายุเกิน  40  ปี ขึ้นไป (หรืออาจอายุน้อยกว่านี้) ที่อ้วน ซึ่งเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป และสาเหตุต่างๆ โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน  พบได้ในคนอ้วนถึงร้อยละ  80 ทั้งนี้เนื่องจากเซลล์ไขมันของคนอ้วนขยายใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดความต้องการอินซูลินเพิ่มขึ้น  และจากการศึกษาของนายแพทย์ร๊อท  และ คาน (Roth  and  Kahn)  พบว่าเซลล์ไขมันของคนอ้วนมีขั้วรับอินซูลินน้อย ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้น ทำให้อาการของโรคเบาหวานปรากฏขึ้น โรคอ้วนจึงเป็นสิ่งแวดล้อมและปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้

3. หญิงเคยมีประวัติการคลอดบุตรที่มีน้ำหนักเกิน  4 กิโลกรัม  หรือมีประวัติตั้งครรภ์ผิดปกติ หรือเคยมีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์  เนื่องจากตอนตั้งครรภ์อาจมีการทำงานผิดปกติในการผลิตฮอร์โมนบางชนิด  และจากสถิติพบว่าโรคเบาหวานเกิดได้ง่ายกับหญิงที่ตั้งครรภ์บ่อย ๆ เช่น สถิติโรงพยาบาลศิริราช  พบว่าโรคเบาหวานเกิดในหญิงมีครรภ์ที่มีบุตรตั้งแต่  5 คนขึ้นไปร้อยละ  44.6 (วิทยา  ศรีดามา, 2545)  ทั้งนี้เนื่องจาก  การตั้งครรภ์เป็นความเครียดอย่างหนึ่งทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด  ได้แก่  โกร๊ธฮอร์โมน  ไธร๊อกซิน และกลูโคคอร์ติดคอยด์  ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

4. บุคคลที่ต้องเผชิญกับความเครียดนาน ๆ ความกังวลหรือเคร่งเครียดในงานมากก็อาจทำให้เป็นโรคเบาหวานได้ เนื่องจากมีการหลั่งฮอร์โมนอิพิเนฟรินมากผิดปกติทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

5. กลุ่มบุคคลที่ใช้ยาบางชนิดนาน ๆ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด  ยาจำพวก สเตียรย์ รอยด์  ยาขับปัสสาวะ  เป็นต้น ยาเหล่านี้มีผลต่อการต้านฤทธิ์ของอินซูลิน

Shares: