ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานเกิดได้ทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง ดังนี้

  1. ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน  หมายถึง  ภาวะที่ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการผิดปกติรุนแรงรวดเร็วต้องการการรักษาอย่างรีบด่วน  มิฉะนั้นอาจเป็นอันตราย  ผู้ป่วยอาจมีระดับน้ำตาลต่ำเกินไป  หรือสูงมากเกินไป  ได้แก่
    1.1 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia)
    1.2 ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากจนมีการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตัวภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูงมากโดยที่ไม่มีกรดคีโตนคั่งภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูงชนิดทีมีกรดดีโตนคั่งในเลือด
    1.3 ภาวะการติดเชื้อ
  2. ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน  ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง ในผู้ป่วยเบาหวานมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาของการเป็นโรคเบาหวานและระดับการควบคุมโรคเบาหวาน  กล่าวคือ  ยิ่งเป็นโรคเบาหวานระยะเวลานานเท่าใดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนก็จะมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีการควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี  แม้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการอะไรในระยะแรก  แต่ถ้าได้รับการตรวจค้นวินิจฉัยและรักษา  รวมถึงการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะแรก  ก็จะช่วยลดและชะลอหรือป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนเหล่านั้น  นอกจากนี้การเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังยังมีปัจจัยเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม  ภาวะไขมันในเลือดสูง  ความดันโลหิตสูง  ความอ้วน  การสูบบุหรี่  และการขาดการออกกำลังกาย

โรคแทรกซ้อนเรื้อรังอาจแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1.) โรคแทรกซ้อนจากหลอดเลือดใหญ่ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดตีบที่เท้า


2.) โรคแทรกซ้อนจากหลอดเลือดเล็ก โรคแทรกซ้อนทางตา โรคแทรกซ้อนทางไต โรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท

Shares: