โรคของตับ
ในปัจจุบันมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ต้องได้รับการเข้ารักษาในโรงพยาบาล จากภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็งจำนวนหลายหมื่นคนต่อปี จากข้อมูที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณะสุข เมื่อปี พ.ศ.2562-2563 พบว่าโรคมะเร็งตับเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับที่ 1 และทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด (ประมาณ 20,000 ต่อปี) โดยปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคตับแข็ง และมะเร็งตับในประเทศไทยนั้น ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี โรคไขมันพอกตับ และการดื่มสุราในประมาณมาก
ไวรัสตับอักเสบบี
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีให้กับเด็กแรกคลอดทุกราย(ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535) และประเทศไทยก็ยังถือว่าเป็นประเทศที่พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังประมาณ 2-3 ล้านคน ซึ่งไวรัสตับอักเสบบีนั้นสามารถติดต่อทางแม่สู่ลูกได้ในขณะที่คลอด ทางเพศสัมพันธ์ และการสัมผัสน้ำคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น เลือด น้ำเหลือง ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงโดยเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิด เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี จึงควรเข้ารับการตรวจโรค และต้องได้รีบวัคซีนในกรณีที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีในปัจจุบัน คือ การรับประทานยาต้านเชื้อไวรัส เพื่อควบคุมโรคในระยะยาว ซึ่งในตัวยาจะมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสามารถหยุดตับอักเสบ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคตับแข็ง และลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งตับได้ แต่อย่างไรก็ตามการรักษาโรคตับอักเสบบีนั้น จะมีเพียง 1-3 รายเท่านั้นที่จะสามารถหายขาดจากโรคได้ และนอกจากนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีต้องเข้ารับการตรวจหามะเร็งตับ ด้วยการอัลตราซาวนด์ เมื่ออายุมากกว่า 40-50 ปี
ไวรัสตับอักเสบซี
ประเทศไทยพบผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี ประมาณ 400,000 คน ไวรัสตับอักเสบซีจะติดต่อทางเลือดและน้ำเหลืองเป็นหลัก ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี ได้แก่ การรับเลือด หรือส่วนประกอบของเลือด (ก่อนปี พ.ศ.2353) การใช้ของมีคนร่วมกับผู้ติดเชื้อ การสัก หรือการเจาะส่วนต่างๆ ของร่างกายที่อุปกรณ์ไม่สะอาด สำหรับการติดมาจากแม่สู่ลูกนั้น และการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยรวมทั่วไปถือว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ต่ำมาก แต่อย่างไรก็ตามในชายรักชายนั้น จะพบการติดเชื้อที่สูงมากกว่า ส่วนการรักษาไวรัสตับอักเสบซี ในปัจจุบัน ถือว่ามีประสิทธิภาพมาก และยังครอบคลุมสิทธิการรักษาทุกสิทธิ โดยการรับประทานยาต้านไวรัส ไวรัสตับอักเสบซี เป็นเวลา 3 เดือน จะมีโอกาสหายขาดจากโรคมากกว่าร้อยละ 95
ตับอักเสบจากไขมันพอกตับ
เป็นโรคที่เกิดจากการสะสมของไขมันไตรกลีเซอไรด์มากกว่าปกติในเซลล์ตับ ซึ่งไขมันเหล่านี้อาจกระตุ้นให้เซลล์ตับเกิดการอักเสบ และพัฒนาไปเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ โรคไขมันพอกตับเป็นปัญหาที่พบบ่อยขึ้นเรื่อยๆ และมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความอ้วน และกลุ่มโรคเมแทบบอลิก ได้แก่ เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง การรักษาที่ดีที่สุดคือ การลดน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายร่วมด้วย เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหาน้ำหนักตัวที่เกินกว่าเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วน ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้ โดยเฉพาะสำหรับโรคไขมันพอกตับ และพบว่าในยาบางกลุ่ม เช่น วิตามินอี และยาเบาหวาน สามารถช่วยลดอาการอักเสบของตับลงได้
โรคตับที่เกิดจากการดื่มสุรา
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากสามารถทำให้เกิดตับอักเสบ ตับแข็ง ตับวาย และมะเร็งตับ โดยการดื่มแอลกอฮอล์ ที่ทำให้เกิดโรคตับได้แก่ การดื่มในปริมาณเกินคสามปลอดภัย คือ 1 หน่วยมาตรฐานการดื่ม ต่อ ต่อ 1 วันในเพศหญิง และ 2หน่วยมาตรฐานการดื่ม ต่อ ต่อ 1 วันในเพศชาย แนวการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะรักษาโดยการให้ผู้ป่วยงดดื่มสุราอย่างเด็ดขาด และติดตาม เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนของโรคตับ หากในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถงดดื่มสุราเองได้ ควรปรึกษาแพทย์
ความน่ากลัวของโรคตับเรื้อรังในชนิดต่างๆ นั้น คือ ในระยะแรกของโรคผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ และจะมีอาการขัดเจนเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคตับแข็งหรือโรคมะเร็งตับ เกิดขึ้นแล้ว ซึ้งการรักษาโรคในระยะนี้จะได้รับผลการรักษาไม่ดีมากนัก และมักจะนำไปสู่การเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคตับจึงควรปรึกษาแพทย์ เมื่อตรวจวินิจฉัยแล้วว่าเกิดโรคจะได้ดูแลรักษาโรคตับในระยะแรกๆ รวมถึงการคัดกรองมะเร็งตับอย่างเหมาะสม ซึ่งจะได้รับผลการรักษาที่ดี และอาจจะหายขาดจากโรคตับได้
ที่มา หนังสือหมอชาวบ้าน ปีที่44 ฉบับที่ 520 สิงหาคม 2565