การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน ทำได้โดย
- ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยที่ไม่มีสาเหตุ สามารถตรวจระดับพลาสมากลูโคสเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ถ้ามีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก./ดล. ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
- การตรวจระดับพลาสมากลูโคสตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืนมากกว่า8ชั่วโมง(FPG)พบค่า≥126มก./ดล. ให้ตรวจยืนยันอีกครั้งหนึ่งต่างวันกัน
- การตรวจความทนต่อกลูโคส (75 g Oral Glucose Tolerance Test, OGTT) ใช้สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงแต่ตรวจพบ FPG น้อยกว่า 126 มก./ดล. ถ้าระดับพลาสมากลูโคส 2 ชั่วโมงหลังดื่ม ≥200 มก./ดล. ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
ตาราง การแปลผลระดับน้ำตาลในเลือด
แนวทางปฏิบัติการรักษาโรคเบาหวาน
1. ขึ้นทะเบียนเป็นเบาหวาน (Diabetes Registry) ที่หน่วยบริการประจำ (รพช./รพสต.) โดยปฏิบัติดังนี้
1.1 ซักประวัติอย่างละเอียด ประเมินรูปแบบการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ระดับความรู้ การเจ็บป่วยในอดีต ปัญหาด้านจิตสังคม
1.2 ตรวจร่างกาย ประเมินภาวะแทรกซ้อน
* น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย รอบเอว ความดันโลหิต
* การตรวจสุขภาพช่องปาก
* การตรวจเท้าอย่างละเอียด (Foot Risk Assessment)
* การตรวจจอประสาทตา
1.3 การตรวจทางห้องปฏิบัติการครั้งแรกเมื่อตรวจพบเบาหวาน
1. FBS , HbA1c
2. Lipid profile
3. Urine protine หรือ microalbuminuria(กรณีตรวจไม่พบสารโปรตีนในปัสสาวะ)
4. Serum Cretinine พร้อมคำนวณหาค่าeGFR
5. EKG (ในกรณีที่มีอาการบ่งชี้ของโรคหลอดเลือดหัวใจหรือผู้สูงอายุ)