รายการสมุนไพร แก้ไอ ขับเสมหะ ในสาธารณสุขมูลฐานได้กำหนดรายการสมุนไพรแก้ไอขับเสมหะไว้คังนี้
- มะแว้งต้น (Solanum indicum) หรือ มะแว้งเครือ (Solanum trilobatum) มีสารสำคัญ ได้แก่อัลคาลอยด์ solasodine ใช้ผลแก่ที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นสีเคงของมะแว้งต้นหรือมะเว้งเครือ จำนวน 10-20 ผล กินเก้ไอ ขับเสมหะ เด็กใช้ 2-3 ผล ตำกวาดคอ
- มะนาว (Citus arantolia) มีสารสำคัญถือ citic acid ใช้น้ำคั้นผลที่มีรสเปรี้ยว 2-3 ช้อนโต๊ะ ผสมกับเกลือเล็กน้อยจิบบ่อยๆ
- มะขาม (Tamarindus indica) มีสารสำคัญในเนื้อฝักมะขามแก่ ได้แก่ tartaric acid บรรเทาอาการไอโดยใช้เนื้อฝักแก่จิ้มเกลือรับประทาน หรือคั้นน้ำผสมเกลือจิบ
- มะขามป้อม (Plyllauths embica) ใช้เนื้อผลแก่ 2-3 ผล โขลกพอแหลก จิ้มเกลือ เล็กน้อย อมหรือเคี้ยว วันละ 3-4 ครั้ง สารสำคัญในมะขามป้อมได้แก่ วิตามินซี
- เพกา (Oroxylumindicm) นำเมล็ดเพกา 1/2-1 กำมือ (1.5-3 กรัม) ต้มน้ำเดือด 2 แก้ว (300 มล.) นาน 1 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง
- ขิง (Zingber officinale) นำเหง้าขิงแก่มาฝนกับน้ำมะนาว หรือขิงสดตำผสมน้ำและเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ สารสำคัญในเหง้าขิงได้แก่ น้ำมันหอมระเหย เช่น gingerol และ zingerone อย่างไรก็ตาม ควรระวังการใช้เหง้าขิงในผู้ปวยที่ใช้ยา ต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin หรือยากลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ รวมทั้งผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากเหง้าขิงอาจมีผลลดน้ำตาลในเลือด
- ดีปลี (Piper longum) เป็นพืชสมุนไพรที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ผลดีปลีแห้ง 1/2-1 ผล ฝนกับน้ำมะนาวผสมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ บรรเทาอาการไอได้ สารสำคัญในดีปลีได้แก่ beta-caryophyllene
อย่างไรก็ตาม การใช้ยาสมุนไพรบรรเทาอาการไอนั้น มีข้อควรระวังบางประการ ได้แก่ ผู้ป่วยตับแข็ง ผู้ป่วยที่ใช้ยานอนหลับ ผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น
สมุนไพรที่กล่าวมาข้างต้น ออกฤทธิ์เพียงบรรเทาอาการไอ เท่านั้น มิได้มีผลในการรักษาอาการไอ การกำจัดอาการไอ โดยการรักษาจากสภาพแวดล้อม หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอาการไอ จึงเป็นแนวทางในการรักษาอาการไอได้ดีที่สุด