โรคอ้วน เป็นภาวะที่มีการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกายมากกว่าปกติ ผู้ชายที่มีไขมันมากกว่า 25% และผู้หญิงมากกว่า 30% จัดว่าเป็นคนอ้วน ถ้าไม่สามารถวัดระดับไขมันในร่างกายได้ ควรใช้ค่าดัชนีมวลกายและการวัดเส้นรอบเอวประเมินภาวะอ้วน

โรคอ้วนที่มีผลร้ายแรงต่อสุขภาพมี 3 ประเภท

1. อ้วนทั้งตัว (Overall Obesity) มีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติ โดยมิได้จำกัดอยู่ที่ใด ที่หนึ่งโดยเฉพาะ

2. อ้วนลงพุง (Visceral or abdominal obesity) มีไขมันของอวัยวะช่องท้องมากกว่าปกติ โดยมีไขมันใต้ผิวหนังหน้าท้องเพิ่มมากขึ้น อ้วนทั้งตัวร่วมกับอ้วนลงพุง (Combined overall and abdominal obesity) เป็นโรคอ้วนทั้งตัวและเป็น โรคอ้วนลงพุงเพิ่มด้วย

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะอ้วนและน้ำหนักเกิน

เด็ก ใช้ค่าน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงเทียบกับเกณฑ์การเจริญเติบโตของเด็กไทย ผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไปใช้ ดัชนีมวลกาย

  1. ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) เป็นค่าที่บอกความหนาของร่างกาย ซึ่งมีวิธีการคิดดังนี้

   นำค่าน้ำหนักตัวที่ชั่งได้ หน่วยเป็นกิโลกรัม  หารด้วยส่วนสูง หน่วยเป็นเมตร สองครั้ง

ค่าน้อยกว่า 18.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จัดว่าผอม
ค่า 18.5 – 22.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จัดว่าปกติ
ค่า 23 – 24.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จัดว่าท้วม
ค่า 25 – 29.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จัดว่าอ้วน
ค่า 30 – 39.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จัดว่าอ้วนมาก
ค่ามากกว่า 40 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จัดว่าอ้วนอันตราย 

ตัวอย่างเช่น

น้ำหนักตัว 68 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร

2. วัดรอบเอว โดยอยู่ในท่ายืนตรง ใช้สายวัด วัดรอบเอวให้ผ่านสะดือ วัดในช่วงหายใจออก (ท้องแฟบ) ให้สายวัดแนบกับลำตัวไม่รัดแน่นและวางอยู่ในแนวขนานกับพื้น ผู้หญิงต้องไม่เกิน 80 เซนติเมตร ผู้ชายต้องไม่เกิน 90 เซนติเมตร

Shares: