การสังเกตอาการและแนวทางแก้ไข ออฟฟิศซินโดรม โรคฮิตของคนยุคใหม่

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในสำนักงาน เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น

สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม คือ การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือนั่งทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน การนั่งหลังค่อม ท่าก้มหรือเงยคอมากเกินไป หรือสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม สภาพร่างกายที่อาจส่งผลต่อการเจ็บป่วย เช่น ภาวะเครียดจากงาน การอดอาหาร การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียดปราศจากการผ่อนคลาย

การสังเกตอาการและแนวทางแก้ไข ออฟฟิศซินโดรม

ระดับที่ 1 อาการเกิดขึ้น เมื่อทำงานไประยะหนึ่ง พักแล้วดีขึ้นทันที ให้พักสลับทำงานเป็นระยะ ๆ ยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลาย นวด หรือออกกำลังกาย

ระดับที่ 2 อาการเกิดขึ้น พักนอนหลับแล้วแต่ยังคงมีอาการอยู่ ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน และเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง

ระดับที่ 3 อาการปวดมากแม้ทำงานเพียงเบา ๆ พักแล้วอาการก็ยังไม่ทุเลาลง ให้พักงาน/ปรับเปลี่ยนงาน และเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง

Shares: