สมุนไพรไทย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการอาหารไม่ย่อย
สมุนไพรไทย แก้ท้องอืด
เว็บไซต์ medthai.com เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลการป้องกันแลรักษาโรคด้วยวิธีแพทย์แผนไทย แนะนำ 12 สมุนไพร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ช่วยขับลมในกระเพาะ มักใช้ในผู้ใหญ่ที่ไม่มีโรคประจำตัว ไม่ใช้ในสตรีมีครรภ์ ที่สำคัญจะใช้ในยามฉุกเฉินเท่านั้น ไม่ได้เป็นยาสามัญประจำบ้านแต่อย่างใด
ขิง แต่ละส่วน มีสรรพคุณมากมายแตกต่างกันไปโดยนิยมใช้เป็นยามากที่สุดตรงเหง้าสดๆ ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ อาการจุกเสียด ทำให้หลับสบาย อาเจียน ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร ฯลฯ
วิธีใช้ ใช้เหง้าขิงแก่สดขนาดเท่านิ้วโป้งหรือประมาณ 5กรัมนำมาทุให้แหลกเทน้ำเดือดลงไป112ถ้วยปิดฝาตั้งไว้5นาทีรินเอาแต่นํ้า ดื่มระหว่างมืออาหารหรือกำเป็นผงขิงแห้งให้ใช้ประมาณ 0.6 กรัม นำมาต้มกับน้ำ
สะระแหน่ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีออกเรียงตรงข้ามขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีกลิ่นหอมเฉพาะกินเป็นยาขับลมแก้ปวดท้องจุกเสียดแน่นเฟ้อ ช่วยทำให้สบายท้อง
วิธีใช้ ตำราไทยจะใช้กินทั้งต้นสดๆและสามารถใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาต่างๆได้อีกด้วย
ขมิ้น ขมิ้นชันหรือขมิ้นแกงเนื้อด้านในมีสีเหลืองส้มมีกลิ่นเฉพาะนิยมใช้ทั้เหง้าแก่สดและแห้งมาทำเป็นยาโดยมีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องอืดท้องร่วงแก้โรคกระเพาะ
วิธีใช้ ใช้เหง้าขมิ้นแก่ลสดๆ ยาวประมาณ2นิ้ว นำมาขุดเปลือกออกล้างนำให้สะอาด ตำให้ละเอียดเติมน้ำ
แล้วคั้นเอาแต่นำมาดื่มครั้งละ2ช้อนโต๊ะวันละ 3- 4 ครั้ง
กระชาย ส่วนของเหง้าใต้ดิน เหง้าและรากรวมถึงใบ สามารถนำมาเป็นยาได้โดยส่วนของเหง้าและรากนั้นจะมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อจุกเสียดปวดมวลในท้อง
วิธีใช้ ใช้เหง้าและรากกระชายประมาณหนึ่งกำมือหรือ ถ้าเป็นแบบสดจะหนัก5-10 กรัม หรือแบบแห้งจะหนัก 3- 5 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน
สมุนไพรไทย อาการอาหารไม่ย่อย
โกฐน้ำเต้า เป็นพืชแถว ยุโรป อินเดีย จีน รัสเซีย แต่สามารถหาซื้อได้ในประเทศไทย ส่วนของเหง้าใช้เป็นยาได้โดยมีสรรพคุณคือขับลมแก้อาการอาหารไม่ย่อยกรดเกิน ช่วยดับพิษร้อนถอนพิษไข้ธาตุพิการอีกทั้งยังนิยมใช้เป็นส่วนผสมหลักในกลุ่มยาธาตุน้ำแดง
วิธีใช้ ใช้เหง้าแห้งครั้งละ 3-12 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มหรือถ้าเป็นเหง้าแบบที่บดเป็นผงมาแล้ว ให้ใช้ครั้งละ 1-1.5 กรัม
พริกไทย เมล็ดพริกไทยมีสรรพคุณเป็นยาขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ แก้อาการอาหารไม่ย่อย
วิธีใช้ ใช้เมล็ดพริกไทยประมาณ 15-20 เมล็ด หรือ 0.5-1 กรัม นำมาบดให้เป็นผง ใช้ผงชงกับน้ำดื่มเพียง 1 ครั้ง
กระวาน ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม สีนวล มี 3พลู ให้สรรพคุณทางยาหลายอย่าง โดยเฉพาะช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และจุกเสียดแน่น
วิธีใช้ ใช้ผลกระวานแก่จัดประมาณ 6-10 ผล หรือ 0.6-2 กรัม นำมาตากแห้งแล้วบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1-3 ช้อนชา โดยนำมาต้มกับน้ำ 1 แก้ว เคี่ยวจนให้เหลือ 1/2 แก้ว แล้วดื่มเพียวครั้งเดียว
ไพล จัดเป็นสมุนไพรมากสรรพคุณและใช้เป็นยาได้ทุกส่วน แต่นิยมใช้เหง้าเป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม
วิธีใช้ ใช้เหง้าไพลแห้งมาบดเป็นผง รับประทานเพียงครั้งละ 1/2-1 ช้อนชา โดยใช้ชงกับน้ำร้อนแล้วผสมเกลือลงไปสักเล็กน้อย
ผักชีลา ส่วนที่นำมาเป็นยาคือส่วนของผลแก่แห้งที่เรียกว่าลูกผักชี เป็นหนึ่งในส่วนผสมที่ใช้เป็นยาธาตุน้ำแดงเช่นกัน
วิธีใช้ ตามองค์ความรู้เดิมมีการใช้ลูกผักชีเป็นส่วนผสมในหลากหลายตำรายา เช่น ตำรายาธาตุบรรจบ ซึ่งเป็นต้นตำรับยาที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการอุจระธาตุพิการ ท้องเสียที่ไม่ติดเชื้อ ฯลฯ
ดีปลี ทุกส่วนของสมุนไพรชนิดนี้ล้วนมีสรรพคุณทางยาตั้งแต่ราก เถา ใบ ดอก และผลแก่จัด โดยส่วนที่นำมาใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง คือส่วนของผลและเถา
วิธีใช้ ใข้ดีปลีแห้งสีน้ำตาลแดงประมาณ 1 กำมือ หรือ 10-15 ผลนำมาต้มเอาน้ำดื่ม แต่หากไม่มีผลก็สามารถใช้เถาต้มแทนได้
สมุนไพรไทย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
พลู ไม่เถาเนื้อแข็ง รากฝอยออกบริเวณข้อ ใช้ยึดเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจออกเรียงสลับ มีกลิ่นเฉพาะ และมีรสชาติเผ็ด
วิธีใช้ ตำรายาไทยจะใช้น้ำคั่นจากใบพลูสดกินเป็นยาขับลม
กานพลู ไม้ยืนต้นสูง 9-12 เมตร เรือนจอดเป็นรูปทรงกรวยคว่ำ ดอกมีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม และปวดท้อง
วิธีใช้ ใช้ดอกกานพลูโตเต็มที่หรือยังตูม ประมาณ 4-6 ดอก หรือปริมาณ 0.25 กรัม นำมาทุบให้ช้ำ ชงกับน้ำดื่มครั้งละ 1/2 แก้ว
สมุนไพรที่ได้กล่าวมาทั้งหมด 12 ชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ยังมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นการใช้สมุนไพรแก้อาการชั่วคราว ในส่วนที่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่า
อ้างอิง นิตยสารชีวจิต ปีที่ 24 วันที่ 26 มีนาคม 2565